วันพฤหัสบดีที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2555

คำขวัญจังหวัดพิษณุโลก



เพลงประจำจังหวัดพิษณุโลก

เพลงพิษณุโลกรำลึก



พระพุทธชินราชงามเลิศ  ถิ่นกำเนิดพระนเรศวร
สองฝั่งน่านล้วนเรือนแพ  หวานฉ่ำแท้กล้วยตาก
ถ้ำและน้ำตกหลากตระการตา 

Provincial Slogan
Phitsanulok, a town of the excellent Phra Buddha Chinnaraj, 
the birthplace of King Naresuan the Great ,
 raft community, delicious dried bananas
as well as fantastic caves and waterfalls.


ประวัติ

         จังหวัดพิษณุโลก เป็นเมืองที่มีประวัติความเป็นมาที่เก่าแก่ก่อนการก่อตั้งอาณาจักรสุโขทัย ของราชวงศ์พระร่วง โดยมีหลักฐานว่าพิษณุโลก หรือสองแคว เป็นเมืองที่อยู่ใต้การปกครองของราชวงศ์พ่อขุนผาเมือง จนกระทั่งถึงสมัยพ่อขุนรามคำแหง จึงได้ทรงยึดเมืองสองแควเข้าไว้ในอาณาจักรสุโขทัย เพื่อสกัดกั้นมิให้อาณาจักรอยุธยาแผ่ขยายอำนาจขึ้นมาครอบครองสุโขทัย แต่ในที่สุดเมื่อถึงสมัยสมเด็จพระบรมราชาธิราช ที่ 1 (ขุนหลวงพระงั่ว) ครองกรุงศรีอยุธยา พระองค์ก็สามารถทำสงครามยึดเมืองสองแควได้ เมืองสองแควจึงกลายเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรอยุธยา และมีฐานะเป็นราชธานีของหัวเมืองฝ่ายเหนือ เมืองสองแควจึงถือเป็นเมืองสำคัญทางยุทธศาสตร์เมืองหนึ่งของกรุงศรีอยุธยา และเคยเป็นเมืองหลวงของอยุธยาอยู่ช่วงหนึ่งในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ทั้งได้ทรงเปลี่ยนชื่อเมืองสองแคว เป็น พิษณุโลกด้วย ต่อมาเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ.2475  พิษณุโลกจึงเปลี่ยนฐานะเป็นจังหวัด ๆ หนึ่งของประเทศจนถึงปัจจุบันครับ

การเดินทาง
ทางรถยนต์
         จากกรุงเทพฯ ใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 1 (พหลโยธิน) ถึงวังน้อยแล้วแยกเข้าทางหลวงหมายเลข 32 (สายเอเซีย) ผ่านอยุธยา อ่างทอง สิงห์บุรี ชัยนาท เข้านครสวรรค์ แล้วใช้เส้นทางสาย 117 ตรงสู่พิษณุโลก รวมระยะทาง 337 กิโลเมตร เป็นเส้นทางที่สะดวกที่สุด หรือจากสิงห์บุรี ใช้เส้นทางสายอินทร์บุรี-ตากฟ้า (ทางหลวงหมายเลข 11) จนถึงทางหลวงหมายเลข 12 (พิษณุโลก-หล่มสัก) ที่เขตอำเภอวังทอง เลี้ยวซ้ายไปอีก 17 กิโลเมตร เข้าสู่พิษณุโลกรวมระยะทางประมาณ 450 กิโลเมตร หากเดินทางจากจังหวัดตาก ใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 12 ผ่านสุโขทัยเข้าพิษณุโลกระยะทาง 138 กิโลเมตร และทางสายเดียวกันจากขอนแก่น 391 กิโลเมตร จากแยกเพชรบูรณ์หล่มสักมาพิษณุโลก ระยะทางประมาณ 100 กิโลเมตร เส้นทางนี้ผ่านแหล่งท่องเที่ยวสองข้างทางหลายแห่ง 

ระยะทางจากอำเภอเมืองไปอำเภอต่างๆ

อำเภอนครไทย 97 กิโลเมตร
อำเภอชาติตระการ 136 กิโลเมตร
อำเภอบางระกำ 17 กิโลเมตร
อำเภอบางกระทุ่ม 35 กิโลเมตร
อำเภอพรหมพิราม 40 กิโลเมตร
อำเภอวัดโบสถ์ 30 กิโลเมตร
อำเภอวังทอง 17 กิโลเมตร
อำเภอเนินมะปราง 75 กิโลเมตร




สถานที่ท่องเที่ยว





วัดพระศรีมหาธาตุวรมหาวิหาร ชาวบ้านส่วนใหญ่มักเรียกขานกันว่า วัดใหญ่ หรือวัด
พระศรี กันจนติดปาก แม้นพระประธานองค์ใหญ่ที่ประดิษฐานในวิหารคือ พระพุทธชินราช ชาวเมืองพิษณุโลกก็นิยมเรียกกันว่า หลวงพ่อใหญ่ ตามไปด้วย วัดใหญ่นับเป็นพระอารามหลวงที่สำคัญของจังหวัด เพราะเป็นศูนย์รวมทางจิตใจของชาวเมืองและชาวไทยทั้งประเทศ ตั้งอยู่ที่ถนนพุทธบูชา ตำบลในเมือง ริมแม่น้ำน่านฝั่งตะวันออก สร้างขึ้นพร้อมกับการสร้างเมืองเมื่อปี พ.ศ. 1900




ศาลสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ตั้งอยู่ในบริเวณโรงเรียนพิษณุโลกพิทยาคม ซึ่งเป็นพระราชวังจันทน์มาก่อนในอดีต ตัวศาลเป็นศาลาทรงไทยโบราณตรีมุข พระรูปสมเด็จ
พระนเรศวรมหาราชมีขนาดเท่าองค์จริง ประทับนั่ง พระหัตถ์ทรงพระสุวรรณภิงคารหลั่ง
น้ำในพระอิริยาบถประกาศอิสรภาพที่เมืองแครง สร้างโดยกรมศิลปากร เสร็จเมื่อปี
พ.ศ. 2404 มีการจัดงานสักการะพระบรมรูปในวันที่ 25 มกราคมของทุกปี















พระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ในท่าที่กำลังเทน้ำพิพัฒน์สัตยา
ลงพื้น ตั้งอยู่ในมหาวิทยาลัยนเรศวร จังหวัดพิษณุโลก เป็นสถานที่สำคัญที่เราไม่ควร
พลาดไปกราบไหว้ เพราะว่าได้ไปถึงถิ่นของท่านแล้ว ก็ควรจะแวะเข้าไปกราบไหว้ท่าน
เพื่อเป็นสิริมงคลกัน



วัดราชบูรณะ จ.พิษณุโลก

วัดราชบูรณะ ตั้งอยู่ริมแม่น้ำน่านฝั่งตะวันออก ทางใต้ของวัดพระศรีมหาธาตุ
พระ อุโบสถมีลักษณะพิเศษคือ ที่ชายคาตกแต่งด้วยนาค 3 เศียร มีลักษณะอ่อนช้อย
งดงาม พิจารณาดูตามชื่อแล้ว วัดราชบูรณะน่าจะเป็นวัดที่พระมหากษัตริย์ทรงสร้าง
เชื่อว่าเป็นสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนารถ เนื่องจากทรงประทับอยู่ที่เมืองพิษณุโลก
ถึง 25 ปี และทรงมีบทบาททางบำรุงพระศาสนาที่พิษณุโลกมากที่สุด






กำแพงเมืองคูเมือง เดิมเป็นกำแพงดินเช่นเดียวกับกำแพงเมืองสุโขทัย คาดว่าสร้างขึ้นใน
รัชกาลสมเด็จพระบรมไตรโลกนารถเพื่อเตรียมรับศึกพระเจ้าติ โลกราชแห่งอาณาจักรล้านนา สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ์ได้โปรดให้ซ่อมแซมกำแพงเมืองอีกครั้งเพื่อเตรียมรับ ศึกพม่า
ครั้นรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราชได้โปรดให้ช่างฝรั่งเศสสร้างกำแพงใหม่โดย ก่ออิฐ
ให้แข็งแรงยิ่งขึ้น ในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก โปรดให้รื้อกำแพงเมือง
และป้อมต่างๆ เสีย เพื่อไม่ให้พม่าซึ่งรุกรานไทยยึดเป็นที่มั่นกำแพง เมืองที่เห็นได้ชัดเจนใน
ขณะนี้คือ บริเวณวัดโพธิญาณ วัดน้อย และบริเวณสถานีตำรวจภูธรจังหวัดพิษณุโลก สำหรับ
คูเมือง พบเห็นได้ตามแนวที่ขนานกับถนนพระร่วง(หลังสถาบันราชภัฏพิบูลสงคราม)




 พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านจ่าทวี ตั้งอยู่ที่ถนนวิสุทธิกษัตริย์ ในตัวเมืองพิษณุโลก เป็นที่เก็บรวบรวม
ข้าวของเครื่องใช้พื้นบ้าน ซึ่งเป็นเครื่องมือทำมาหากินของชาวบ้านในอดีต ตั้งแต่ชิ้นเล็กๆ จนถึง
ชิ้นใหญ่ เช่น เครื่องจักสาน เครื่องปั้นดินเผา เครื่องใช้ในครัวเรือน เครื่องใช้ในการประกอบอาชีพ เช่น เครื่องวิดน้ำด้วยมือ เครื่องสีข้าว เครื่องมือดักจับสัตว์ รวมกันแล้วนับหมื่นชิ้น จนได้รับการยอมรับว่าเป็นขุมทรัพย์ทางประวัติศาสตร์และภูมิปัญญาไทย และได้รับรางวัลยอดเยี่ยมอุตสาหกรรม
ท่องเที่ยวไทยประเภทหน่วยงานส่งเสริมและ พัฒนาการท่องเที่ยว เมื่อปี 2541
วัดเจดีย์ยอดทอง อ.เมือง จ.พิษณุโลก

วัดเจดีย์ยอดทอง ตั้งอยู่นอกกำแพงเมืองพิษณุโลก บนถนนพญาเสือ ทางเดียวกับวัดอรัญญิก
ปัจจุบัน เหลือเพียงเจดีย์ทรงดอกบัวตูมที่เป็นศิลปสุโขทัยเพียงองค์เดียวที่พบใน พิษณุโลก เจดีย์
มีฐานกว้างประมาณ 9 เมตร สูง 21 เมตร เฉพาะที่ยอดทรงดอกบัวตูมนั้น ได้เห็นรอยกระเทาะ
ของปูนทำให้แลเห็นการเสริมยอดโดยการพอกปูนเพิ่มที่ยอดแหลม ของดอกบัว





















อุทยานแห่งชาติน้ำตกชาติตระการ  มีพื้นที่ครอบคลุมอยู่ในท้องที่อำเภอชาติตระการ
และอำเภอนครไทย จังหวัดพิษณุโลก สภาพทั่วไปเป็นป่าอุดมสมบูรณ์และธรรมชาติที่สวยงาม
 เป็นต้นว่า น้ำตกชาติตระการ หรือที่ชาวบ้านเรียกติดปากว่า “น้ำตกปากรอง” เพราะตั้งอยู่
ที่หมู่บ้านปากรอง หน้าผาสูงชันที่มีสีสันผิดแปลกกันเป็นร่องรอยของศิลปยุคแรกของมนุษย์
คือ รอยแกะสลักกับแผ่นดินและจุดชมวิวทิวทัศน์บนยอดเขาสูงๆ มีเนื้อที่ประมาณ 339,375 ไร่
หรือ 543 ตารางกิโลเมตร 




 อุทยานแห่งชาติภูสอยดาว มีพื้นที่ครอบคลุมอยู่ในท้องที่ป่าสงวนแห่งชาติป่าน้ำปาด ท้องที่ตำบลม่วงเจ็ดต้น ตำบลนาขุม ตำบลบ้านโคก อำเภอบ้านโคก อำเภอห้วยมุ่น อำเภอน้ำปาด จังหวัดอุตรดิตถ์ ตำบลบ่อภาค อำเภอชาติตระการ จังหวัดพิษณุโลก เป็นพื้นที่ที่มีสภาพป่าค่อนข้างสมบูรณ์ปกคลุมไปด้วยป่าธรรมชาติที่สวยงาม เป็นแหล่งต้นน้ำลำธาร มีจุดเด่นที่น่าสนใจและเป็นที่ดึงดูดใจของนักท่องเที่ยว ได้แก่ น้ำตกภูสอยดาว เป็นน้ำตก 5 ชั้น มีเนื้อที่กว้างประมาณ 1,000 ไร่ มีความสวยงามมาก มีถนนลาดยาง เข้าถึงพื้นที่ทำให้สะดวกสบายในการเดินทางพักผ่อนหย่อนใจ อุทยานแห่งชาติภูสอยดาว มีเนื้อที่ประมาณ 212,633 ไร่ หรือ 340.21 ตารางกิโลเมตร 
 

ลานหินปุ่ม อยู่ห่างจากฐานพัชรินทร์ ประมาณ 300 เมตร ลักษณะเป็นลานหินที่มีอาณาบริเวณประมาณ 40 ไร่ ลานหินมีรอยแตกเป็นแนวเป็นร่องเหมือนแผ่นดินแยก รอยแตกนี้บางรอยก็มีขนาดแคบขนาดพอคนก้าวข้ามได้ แต่บางรอยก็กว้างจนไม่สามารถจะกระโดดข้ามไปถึง สำหรับความลึกของร่องหินแตกนั้นไม่สามารถจะคะเนได้ ลักษณะเช่นนี้สันนิษฐานว่าอาจจะเกิดจากการโก่งตัว หรือเคลื่อนตัวของผิวโลก จึงทำให้พื้นหินนั้นแตกออกเป็นแนว นอกจากนี้บริเวณลานหินแตกยังปกคลุมไปด้วยมอส ไลเคน ตะไคร่ เฟิร์น และกล้วยไม้ชนิดต่างๆ



ลานหินปุ่ม อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานฯ ประมาณ 4 กิโลเมตร อยู่ริมหน้าผา ลักษณะ
เป็นลานหินซึ่งมีหินผุดขึ้นมาเป็นปุ่ม เป็นปม ขนาดไล่เลี่ยกัน คาดว่าเกิดจากการสึกกร่อน
ตามธรรมชาติของหิน ในอดีตบริเวณนี้ใช้เป็นที่พักฟื้นคนไข้ของโรงพยาบาล เนื่องจาก
อยู่บนหน้าผา มีลมพัดเย็นสบาย











อุทยานแห่งชาติภูหินร่องกล้า (Phuhinrongkla National Park) เป็นอุทยานแห่งชาติแห่งที่ 48 ของประเทศ และนับเป็นแห่งที่14 ของภาคเหนือ ซึ่งมีเนื้อที่ประมาณ 307 ตารางกิโลเมตร
หรือ 102,000 ไร่ ประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติ เมื่อปี พ.ศ. 2527 ซึ่งตั้งครอบคลุมพื้นที่รอยต่อของสองจังหวัด คือ อำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย และอำเภอนครไทย จังหวัดพิษณุโลก ภูหินร่องกล้าอันเป็นแหล่งกำเนิดของประวัติศาสตร์การสู้รบอันยาวนาน เป็นวีรกรรมของนักรบ
ไทยที่เกิดขึ้น ณ ที่นี้ ตลอดจนสภาพสิ่งก่อสร้างในอดีตได้ถูกบันทึกเก็บรักษาไว้

สินค้าพื้นเมือง และของฝาก











 
 





กล้วยตากบางกระทุ่ม เป็นของฝากมีชื่อของพิษณุโลก กล้วยตากบางกระทุ่ม มีเนื้อนุ่ม รสชาติหอมหวานอร่อย น่ารับประทาน ซื้อหาได้ที่ศาลาขายของที่ระลึกในวัดใหญ่ หรือร้านค้าของที่ระลึกทั่วไปในตลาด 

















  

แหนมและหมูยอสุพัตรา เป็นแหนมสดและหมูยอขึ้นชื่อของพิษณุโลก สะอาด รสชาติอร่อย
เป็นอุตสาหกรรมครอบครัวของโรงงานสุพัตรา คนพิษณุโลกโดยแท้ 



















หมี่ซั่ว เส้นสีขาวนวล เมื่อนำไปปรุงอาหาร โดยเฉพาะผัดหมี่ซั่ว เส้นจะเหนียวนุ่ม น่ารับประทาน มีให้เลือกซื้อหลายยี่ห้อ ซื้อหาได้ทั่วไปตามร้านค้าของที่ระลึก 


















น้ำปลาบางระกำ อำเภอบางระกำมีชื่อในเรื่องการทำน้ำปลามานาน โดยทำจากปลาสร้อยในลำน้ำยม แม้รสชาติไม่หอมหวานเท่ากับน้ำปลาทะเลหลายยี่ห้อ แต่รับรองคุณภาพได้ว่าเป็นน้ำปลาแท้ที่ไม่เป็นพิษภัยในการบริโภค 
















ไม้กวาดนาจาน อำเภอชาติตระการเป็นอำเภอที่มีประชากรน้อย แต่ชาวบ้านได้พยายามทำอาชีพเสริมเพื่อหารายได้เพิ่มให้กับครอบครัว บ้านนาจานเป็นหมู่บ้านที่ทำไม้กวาดจากดอกหญ้าแท้ ๆ และใช้ด้ามหวายอย่างดี ฝีมือละเอียด ราคาไม่แพง


















สุนัขพันธุ์บางแก้ว ถิ่นกำเนิดอยู่ที่บ้านบางแก้ว ตำบลท่างาม อำเภอบางระกำ จากการสันนิษฐานและเล่าต่อกันมา พอสรุปได้ว่า หลวงปู่มาก สุวัณณโชโย (เมธาวี) เจ้าอาวาสวัดบางแก้ว ได้เลี้ยงสุนัขไว้ที่วัดหลายสิบปี ต่อมาวันหนึ่งสุนัขที่วัดผสมพันธุ์กับสุนัขป่า และได้ให้กำเนิดเป็นลูกสุนัขเป็นพันธุ์บางแก้วที่เป็นเอกลักษณ์ขึ้นมา
เนื่องจากมีผู้นิยมเลี้ยงสุนัขพันธุ์นี้กันมากขึ้น ทั้งใช้เฝ้าบ้านเฝ้าสวน หรือแม้กระทั่งเลี้ยงไว้ในเชิงพาณิชย์ และมีชมรมผู้เลี้ยงสุนัขบางแก้วหลายชมรม สำนักงานปศุสัตว์พิษณุโลกจึงได้กำหนดมาตรฐานของสุนัขพันธุ์บางแก้วไว้เพื่อ รักษาไว้ซึ่งเอกลักษณ์ คุณสมบัติที่ดีของสุนัขพันธุ์นี้ โดยมีลักษณะทั่วไปเป็นสุนัขขนาดกลาง โครงสร้างเป็นรูปสี่เหลี่ยมจตุรัส มีสัดส่วนค่อนข้างกลมกลืน ประกอบด้วยกล้ามเนื้อที่สมบูรณ์ แข็งแรง เคลื่อนไหวแคล่วคล่อง มีพฤติกรรมอารมณ์ที่ตื่นตัว ร่าเริง จิตประสาทมั่นคง ไม่ขลาดกลัว ซื่อสัตว์ ฉลาด หวงแหนทรัพย์สิน กล้าหาญ ฝึกง่าย เชื่อฟังคำสั่ง สามารถฝึกใช้งานได้ดี นอกจากนี้มีผู้เลี้ยงสุนัขบางแก้วบางท่านให้คุณสมบัติที่ดีเพิ่มเติม เช่น หัวกะโหลกควรใหญ่ ปากแหลม หูเรียวเล็กเป็นสามเหลี่ยม หูไม่ตก แผงขนบริเวณคอต่อกับหลังเป็นแผงขนยาวเรียบ ไม่หยักศกมาก ลำตัวได้รูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส (ความยาวลำตัวจากขาหน้าถึงขาหลัง ยาวประมาณเท่ากับความสูงของลำตัว) ขาเหมือนขาสิงห์อวบใหญ่ได้สัดส่วน หางฟูเป็นพวง หางไม่บิดเอียงด้านใดด้านหนึ่งเมื่อหางไม่กระดิก พฤติกรรมนิ่ง ดุ รักเจ้าของ หากสุนัขตัวใดมีลักษณะครบถ้วนดังนี้ จะมีราคาสูง























ไก่ชนพระนเรศวร หรือ ไก่เจ้าเลี้ยง เป็นไก่อูพันธุ์เหลือง หางขาว เป็นไก่มีสกุล มีคุณสมบัติทรหด แข็งแรง ชนได้ทนทานในการต่อสู้ และมีความเชื่อว่าเป็นไก่พันธุ์เดียวกับที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราชนำไปตีกับ ไก่ของพระมหาอุปราชาแห่งกรุงหงสาวดี ปัจจุบันมีการอนุรักษ์เพาะพันธุ์จำหน่ายกันแพร่หลาย